พัดลมไอน้ำ(fan fogger หรือ mist fan)เป็นพัดลมที่พ่นหมอกหรือไอน้ำ มีทั้งใช้ภายนอกอาคาร และภายในอาคาร
พัดลมไอน้ำสามารถดัดแปลงเป็นรางพ่นไอน้ำ และ ในการลดค่าสาร แอมโมเนีย ในอากาศ ลดไฟฟ้าสถิตย์ในงานสิ่งทอ
ระบบการทำงาน
การสร้างละอองหมอกด้วย ปั๊มแรงดันสูง (high pressure pump)และหัวพ่นหมอก (Mist Nozzle) ใช้หลักการจ่ายน้ำผ่านรูขนาดเล็กมากๆ เพื่อให้หยดน้ำที่พ่นออกมามีการแตกตัวเป็นอณูเล็กๆ (Atomization) ซึ่งปั๊มแรงดันสูงที่ใช้มีแรงดันตั้งแต่ 35 บาร์ขึ้นไปจนถึง 3000 บาร์ หรือ 43511.321 PSI แต่แรงดันที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้สำหรับระบบพัดลมไอน้ำ คือ 70 บาร์ หรือ 1,000 PSI ส่วนการเลือกอัตราการไหลของปั๊มที่จะใช้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น จำนวนของหัวพ่นหมอกในระบบ และความยาวรวมของท่อทางในระบบ เป็นหลัก
หัวพ่นหมอก (Mist Nozzle) ที่นิยมใช้กันมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูพ่น (Orifice)ตั้งแต่ 0.1 - 0.4 mm รูพ่นที่มีขนาดเล็กนี้ ผลิตโดยวิธีการใช้เลเซอร์ยิง ทำให้สามารถเจาะรูที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 10 เท่า หัวพ่นหมอกได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มีแค่ระบบกันหยด (มีสปริงทำหน้าที่เป็นตัวเชควาล์ว กันน้ำหยดในตัวของ nozzle) ปัจจุบันมีระบบไส้กรองภายใน ระบบถอดทำความสะอาดง่าย และอื่นๆ หัวพ่นหมอกเป็นนาโนเทคโนโลยีชนิดหนึ่ง เมื่อจ่ายน้ำที่มีแรงดันสูงผ่าน จะทำให้เกิดละอองน้ำขนาด 5 ไมครอน ซึ่งเล็กมาก ทำให้สามารถระเหยได้โดยฉับพลัน (Flash Evaporation) ในกระบวนการระเหยนี้ ละอองหมอกจะดูดซับเอาความร้อนจากอากาศรอบตัว ทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลง เรายังสามารถเพิ่มอัตราการระเหยได้ด้วยการเพิ่มพัดลม ทำให้ส่งไอน้ำได้ไกลขึ้นไปอีกด้วยแรงลมจากพัดลม พัดลมไอน้ำเริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2545
การใช้พัดลมไอน้ำ
การใช้พัดลมไอน้ำที่ถูกต้อง ควรใช้ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ว่าในร่มหรือกลางแจ้ง ถ้าอากาศถ่ายเทไม่ดี จะทำให้ไอน้ำจับตัวเป็นหยดน้ำได้ ในขณะที่มีความชื้นในอากาศมาก เช่นก่อนฝนตก แต่ถ้ามีพัดลมช่วยจะทำให้โอกาสจับตัวเป็นหยดน้ำเป็นไปได้ยาก ระยะจับตัวของพัดลมไอน้ำทั่วไปจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.8 M จากการทดลองที่หลากหลายระดับ pressure
พัดลมไอน้ำเป็นระบบกึ่งปิด ไม่ใช่ระบบปิดแบบแอร์ หรือระบบเปิด แบบปั๊มจ่ายน้ำแรงดันต่ำ จึงไม่สามารถคำนวณหัวพ่นได้จาก cc ของหัวพ่นได้เป็นมาตรฐานตายตัว ขึ้นอยู่กับความสามารถของปั๊มชนิดนั้นๆ ปัจจุบันได้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายจากไอน้ำ เช่นลดไฟฟ้าสถิตย์ และลดอุณหภูมิของคอนเดนเซอร์ของแอร์ ซึ่งทำให้ประหยัดไฟมากกว่าเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ถึง 4 เท่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น